เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)
1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทาง ชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้และผู้อื่น

Week 6

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย   อาหารจากกรด
แลคติก  อาหารจากกรดอาซิติค  อาหารจากยีสต์  อาหารจากเชื้อรา  และอาหารจากการทำงานร่วมกันของจุลินทรีย์หลายตัว
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
20 -24
มิ.ย.

2559


โจทย์ :  ผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
- อาหารจากกรดแลคติก
- อาหารจากกรดอาซิติค
- อาหารจากยีสต์
- อาหารจากเชื้อรา
- อาหารจากการทำงานร่วมกันของจุลินทรีย์หลายตัว
คำถาม
- จุลินทรีย์สร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารต่างๆได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
BAR ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถาม จาก เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ
- ชิมและวิเคราะห์ลักษณะทางเคมีและกายภาพของอาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำสมสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว)
 - วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมี(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต)
DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
 - ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ
- อาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำสมสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว)


                               จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนแต่ละคนร่วมกันชิมและวิเคราะห์ลักษณะทางเคมีและกายภาพของอาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำสมสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม :  นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและบันทึกผล ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
นักเรียนจับไม้ไอศกรีมแบ่งกลุ่ม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่ได้มาออกแบบโจทย์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต)
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อังคาร  2 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต)
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
  นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
                   “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
     “ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละ ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถาม จาก เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ
- ชิมและวิเคราะห์ลักษณะทางเคมีและกายภาพของอาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย   อาหารจากกรด
แลคติก  อาหารจากกรดอาซิติค  อาหารจากยีสต์  อาหารจากเชื้อรา  และอาหารจากการทำงานร่วมกันของจุลินทรีย์หลายตัว

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลองเชิงประสบการณ์ได้อย่างสร้างสรรค์
- นำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลองเชิงประสบการณ์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย



ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้





ตัวอย่างอาหารอร่อยๆ จาก ยีสน์ จุลินทรีย์ และแบคทีเรีย







ตัวอย่างชิ้นงาน





ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    กิจกรรมสัปดาห์นี้ประกอบด้วยการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของพี่ๆแต่ละกลุ่มที่ ได้จากการจับกลุ่มใหม่ โดยโจทย์ของเราคือ “การผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต” จากการพูดคุยแต่ละกลุ่มมีความสนใจการผลิตอาหารจากกรดแลกติก และกรดอาซิติก รวมถึงการทำงานร่วมกันของจุลินทรีย์และแบคทีเรียหลายตัว ในแต่ละกลุ่มจะมีการผลิตอาหารใน 2 รูปแบบ ชิ้นที่ 1 เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้เกิดกรดต่างๆ และชิ้นที่ 2 เป็นอาหารที่เกิดขึ้นจากกรดนั้นเป็นองค์ประกอบในการปรุง เช่น กลุ่มที่ 1 สนใจเรื่องการทำน้ำสมสายชูจากการหมักกลัวน้ำหว้า กลุ่มที่ 2 สนใจการหมักเนื้อสเตกจากน้ำใบเตย และผลิตไวน์จากใบเตย ฯลฯ
    ภายหลักการวางแผนและลงมือผลิตอาหารต่างๆแล้วแต่ละคนก็สร้างชิ้นงานนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัญหาและกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อนำมาพูดคุยร่วมกัน และปิดท้ายด้วยการสรุปสัปดาห์

    ตอบลบ