เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)
1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทาง ชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้และผู้อื่น

Week8

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
2 - 6
ก.ค.
2559


โจทย์ :  สัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
คำถาม
- การรับประทานอาหารเสริม จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง  จริงหรือ
- การทานอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคภัยจริงหรือ
เครื่องมือคิด
BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน
 - วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมี(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการทดลองและการวิเคราะห์อินโฟรกราฟิก กินเท่าไรจึงจะพอดี
- ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
- Timeline สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สื่อและอุปกรณ์การทำการทดลองปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน
- “อินโฟรกราฟิก กินเท่าไรจึงจะพอดี


จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง :  ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลองปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน
- ร่วมวิเคราะห์และตั้งข้อสังเกต อินโฟรกราฟิก กินเท่าไรจึงจะพอดี
เชื่อม :  นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
นักเรียนจับไม้ไอศกรีมแบ่งกลุ่ม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่ได้มาออกแบบโจทย์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย)
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อังคาร  2 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ  องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
  นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
                   “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
     “ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละ ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมทำการทดลองปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน
- ร่วมวิเคราะห์และตั้งข้อสังเกต อินโฟรกราฟิก กินเท่าไรจึงจะพอดี
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการ
- ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
- Timeline สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย


ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลองเชิงประสบการณ์ได้อย่างสร้างสรรค์
- นำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลองเชิงประสบการณ์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็น

คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย

 ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
แต่ละคนทำไวน์จาหผลไม้ ที่แตกต่างกันออกไปค่ะ


                                     
                                                  ตัวอย่างคลิป VDO กระบวนการทำไวน์

https://youtu.be/7IQ2C_8sUP8


ตัวอย่างชิ้นงาน


ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานร่วมกันของสิ่งเร้ากับมนุษย์ ร่วมถึงกิจกรรมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วซึ่งเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตจำพวก เชื้อราและจุลินทรีย์ ส่งผลให้สัปดาห์นี้ เราได้ออกแบบการทำไวน์ร่วมกันเพื่อเตรียมสำหรับกิจกรรมการเปิดบ้านในช่วงปลาย Quarter ซึ่งไวน์นั้นต้องใช้กระบวนการหมักอย่างน้อย 1 เดือน พี่ๆและคุณครูจึงได้ใช้ช่วงเวลานี้ในการเริ่มต้นหมัก แต่ละคนทำไวน์จากผลไม้ค่ะ 1 คน ต่อ 1 ชนิด
    หลังจากเกิดกระบวณการ ลงมือเพื่อทำไวน์แล้ว พี่ๆก็ใช้ช่วงวลาหนึ่งในการสืบค้นข้อมูลในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งเร้าต่างๆ เช่น สิ่งเร้าเกี่ยวกับการได้ยินเสียง สิ่งเร้าต่อการกิน สิ่งเร้าต่อการสัมผัสทางกาย สิ่งเร้าต่อการมองเห็น ซึ่งแต่ละคนก็ได้นำเสนอตามความเข้าใจของตนเองได้หลากหลายมีทั้ง้หมือนและแตกต่างกันออกไป

    ตอบลบ