เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)
1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทาง ชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้และผู้อื่น

Week3

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจกระบวนการทำงานเชิงประสบการณ์ของระบบต่างๆของร่างกายพร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
31 - 3
มิ.ย.
2559


โจทย์ :  ก่อกำเนินมนุษย์
- ธาตุและองค์ประกอบ
- ระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์
คำถาม
- สิ่งมีชีวิตก่อกำเนินและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเกิดขึ้นเองภายหลังการเป็นโรคต่างๆจริงหรือ
เครื่องมือคิด
BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกายจากการทดลอง
- วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมีเป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ  องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์
AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการทดลอง
- ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้

Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สื่อและอุปกรณ์การทดลอง ระบบการย่อยอาหารในร่างกาย

จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลองระบบการย่อยอาหารในร่างกาย
เชื่อม :  นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
นักเรียนจับไม้ไอศกรีมแบ่งกลุ่ม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่ได้มาออกแบบโจทย์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ  องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อังคาร  2 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ  องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
  นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
                   “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
     “ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละ ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมทดลองระบบการย่อยของอาหารในร่างกาย
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการทดลอง
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ  องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
­- ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
- Timeline สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจกระบวนการทำงานเชิงประสบการณ์ของระบบต่างๆของร่างกายพร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลองเชิงประสบการณ์ได้อย่างสร้างสรรค์
- นำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลองเชิงประสบการณ์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย


ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
สังเกต และเริ่มเพราะเชื้อรา ตามที่แต่ละคนสนใจ เช่น เพาะเช้อจาก ผลไม้  กระดูกไก่ ขนมปัง ฝางข้าว (เราทุกคนจะรอสังเกตอีกครั้งในวันพฤหัสที่ 9 มิถุนายน 2559 ร่วมเป็น 1 สัปดาห์เต็มค่ะ)
  



  


ครูและพี่ๆได้ร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับหน่วยย่อยของสสาร ที่เกี่ยวกับ อะตอม โมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ กระทั้งกายเป็นเราที่เป็นสิ่งมีชีวิต  เพื่อแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูล  นำเสนอ และอภิปรายร่วมกัน
  
หลังการนำเสนอและประมวลความเข้าใจร่วมกัน แต่ละคนก็สรุปความเข้าใจ ในเรื่องต่างๆที่ได้เรียนรู้
- ธาตุที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์
- ลำดับหน่วยของสสารตั้งแต่ ควาก์ส กระทั้งเป็นมนุษย์
- และเหตุผลต่างๆที่แต่ละคนตั้งข้อสังเกตในการเพาะเชื้อรา

  

 ตัวอย่างชื้นงาน




ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้กิจกรรมการเยนรู้สนุกสนานค่ะ เราได้ร่วมกันสังเกตเชื้อราที่ครูเพาะไว้ให้พี่ๆได้ร่วมสังเกตเมื่อช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา 3 ชนิด ประกอบด้วยเชื้อราจากมะม่วง เชื้อราจากเศษอาหาร และเชื้อราจากผัก หลังจากที่แต่ละคนได้สังเกตแล้ว คุณครูก็ได้ให้พี่ร่วมกันสืบค้นข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเชื้อราต่างเช่น การขยายพันธุ์ ระบบโครงสร้าง และความเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หลังจากได้ข้อมูลมาแล้เราได้อภิปรายร่างกัน ซึ่งในวันต่อมาพี่ๆและคุณครูได้เตรียมอุปกรณ์มาเพาะเชื้อรา แต่ละคนเพราะอย่างละ 2 ถ้วย ถ้วยที่ 1 เก็บไว้ในที่มือ ส่วนถ้วยที่ 2 ถ้วยเก็บไว้ในที่รับแสงได้ดีค่ะ โดยเราจะเปิดเพื่อสังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อราใน วันพฤหัสที่ 9 มิถุนายน 2559 (ร่วมเป็นเวลา 1 สัปดาห์) พี่ๆเพาะเชื้อจากสิ่งต่างๆที่แตกต่างกันตามความสนใจค่ะ เช่น กระดูกไก่ที่ทอดแล้ว ผลไม้ ฝางข้าว ขนมปัง ฯลฯ
    ในช่วงกิจกรรมต่อมานั้นคุณครูก็ได้มอบโจทย์ใหม่ให้กับพี่ๆ ค่ะ โดยตั้งคำถามว่า “พี่ๆคิดว่าสิ่งที่เล็กที่สุดของสสารคืออะไร” (เรากำลังโน้มนาวเข้าสู่กระบวนการกำเนินของสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้ที่มาจากส่วนประกอบเดียวกัน เริ่มตนจาก Superstring อนุภาค อะตอม โมเลกุล เซลล์ และเนื้อเยื้อ ตามลำดับ) หลังจากแต่ละคนได้ข้อมูลในเบื้อต้น คุณครูก็ได้ให้พี่หาข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า “ในร่างกายของเราประกอบด้วย ธาตุอะไรบ้าง” จากนั้นเราได้อภิปรายร่วมกัน
    ในช่วงการนำเสนอ คุณครูได้นำ Power point เกี่ยวกับหน่วยย่อยของสสารมาให้พี่ร่วมทำความเข้าใจ เพื่อเกิดภาพในจินตนาการเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องและการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่มวลของสรรพสิ่งต่างๆ และตบท้ายด้วยคำถามที่ว่า “พี่ๆคิดว่า เรากับหัวหอมเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ เพราะเหตุใด” ทุกคนตอบได้แล้ให้เหตุผลได้ดีค่ะ ปิดท้ายในสัปดาห์นี้นอกเหนือการสรุปรายสัปดาห์แล้ว คุณครูได้ให้พี่ๆออกแบบ Infographic สรุปความเข้าใจตนเองอีกครั้ง

    ตอบลบ