เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจกระบวนการทำงานเชิงประสบการณ์ของระบบต่างๆของร่างกายพร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
23 -27
พ.ค.
2559
|
โจทย์ : ก่อกำเนินมนุษย์
- ธาตุและองค์ประกอบ
- ระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์
คำถาม
- สิ่งมีชีวิตก่อกำเนินและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเกิดขึ้นเองภายหลังการเป็นโรคต่างๆจริงหรือ
เครื่องมือคิด
BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกายจากการทดลอง
- วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมีเป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ องค์ประกอบของธาตุ
และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์
DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม กำลังทำอะไร เกิดอะไรขึ้น ติดขัดอะไร จะแก้ไขอย่างไร
AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการทดลอง
- ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สื่อและอุปกรณ์การทดลอง ”ระบบการย่อยอาหารในร่างกาย”
|
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง”ระบบการย่อยอาหารในร่างกาย”
เชื่อม :
นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนจับไม้ไอศกรีมแบ่งกลุ่ม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่ได้มาออกแบบโจทย์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้
(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ
องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อังคาร 2 ชั่วโมง
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ องค์ประกอบของธาตุ
และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
ชง : ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
“นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
“นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
“ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละ
ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ
ความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ
Timeline
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน :
- ร่วมทดลอง”ระบบการย่อยของอาหารในร่างกาย”
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการทดลอง
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์
(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ
องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
- Timeline
สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจกระบวนการทำงานเชิงประสบการณ์ของระบบต่างๆของร่างกายพร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต - ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินการเรียนรู้ได้ - ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ - ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง
- นำเสนอชื่อหน่วย และปฏิทินการเรียนรู้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลอง ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ: - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้หลังเรียน
- กระบวนการวางแผนการเรียนรู้


ตัวอย่างชิ้นงาน
- ตัวอย่างปฏิทินการเรียนรู้ (ออกแบบเป็นคู่)


- ปฏิทินรวมของห้องเรียนที่ได้จากทุกความคิดเห็นของทุกคน


- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (เดี่ยว / ทั้งห้อง)


- ตัวอย่าง Mind Mapping (ก่อนเรียน)
- ตัวอย่างสรุปรายสัปดาห์
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบในกิจกรรมการเรียนรู้ที่วางไว้ในสัปดาห์นี้ มีการเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับกิจกรรม ซึ่งคุณครูพี่ ม.2 ได้ทำกิจกรรมต่อเนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางไว้ ส่งผลให้ในสัปดาห์นี้ เราจึงต้องนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่การเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือคิด Card and chart จากนั้นเราก็มาร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งคุณครูใช้วิธีการจับฉลากแบ่งกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มร่วมกันตั้งชื่อ ก่พร้อมบอกเหตุผลในการตั้งชื่อนั้น ผลสรุปใน Quarter 1 นี้เราได้ชื่อหน่วยว่า “อยู่ในกาย ใต้เท้าเรา Web of us” ซึ่งต่อมาก็เป็นกระบวนการเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ตามด้วยปฏิทินการเรียนรู้ เราได้ร่วมกันออกแบบโดยแต่ละกลุ่มได้ออกแบบปฏิทินร่วมกัน และนำมาแชร์ในวงใหญ่ จากการนำเสนอร่วมกัน เราสรุปได้ว่า พี่ ม.2 และ คุณครูจะเริ่มเรียนเริ่มต้นจากร่างกายของเรา ออกสู่เรื่องราวภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ทั้งเรื่องปัจจัยที่สร้างสมดุลโดยธรรมชาติของร่างกาย อาหาร และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งโดยรวมเป็นการเรียนรู้สมดุลของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ จากนั้นก็เป็นกระบวนการนำสิ่งที่ได้ทั้งหมดในการออกแบบวางแผนกระบวนการเรียน มาเขียนลงในกระดาษบู๊ฟ ก่อนที่จะนำไปติดที่ห้องค่ะ ในด้าน Mind Mapping ก่อนเรียนคุณครูได้ให้พี่กลับไปทำเป็นการบ้าน ค่ะ