เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)
1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทาง ชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้และผู้อื่น

Week4

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานและสร้างสมดุลของจุลินทรีย์กับสิ่งมีชีวิต
Week
Input
Process
Output
Outcome
4
7 -10
มิ.ย.
2559


โจทย์ :  ร่างกายมนุษย์กับสมดุลทางธรรมชาติ
- การทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
คำถาม
- จุลินทรีย์ในอาหารและเครื่องดื่มช่วยปรับสมดุลการทำงานของร่างกายได้จริงหรือ
- การทานอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคภัยจริงหรือ
เครื่องมือคิด
BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบการทำงานระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
 - วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมีเป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการทดลอง
- ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สื่อและอุปกรณ์การทำ โยเกิร์ตสด

จันทร์  2  ชั่วโมง
ชง :  ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรมผลิต โยเกิร์ตสด
เชื่อม :  นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
นักเรียนจับไม้ไอศกรีมแบ่งกลุ่ม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำคำถามที่ได้มาออกแบบโจทย์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์)
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อังคาร  2 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์)
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
  นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
                   “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
     “ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละ ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมทำกิจกรรมผลิต โยเกิร์ตสด”- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Timeline
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
- Timeline สรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานและสร้างสมดุลของจุลินทรีย์กับสิ่งมีชีวิต


ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลองเชิงประสบการณ์ได้อย่างสร้างสรรค์
- นำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลองเชิงประสบการณ์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย


  ประภาพกิจกรรมการเรียนรู้
แต่ละกลุ่ม  ออกกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ที่ว่า "มนุษย์สัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างไร (เชื้อรา แบคทีเรีย  จุลินทรีย์)"
  

  
    แต่ละกลุ่มร่วมประมวลผลสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกระบวนการทดลอง


  ตัวอย่าง เชื้อราที่ได้จากการเพาะ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


ตัวอย่างชิ้นงาน






ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีโจทย์ คือ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (เชื้อรา จุลินทรีย์ และแบคทีเรีย)” ซึ่งคุณครูได้แบ่งพี่ ม.2 ออกเป็น 4 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ต่างๆตามโจทย์ที่ได้ ในวันต่อมาแต่ละกลุ่มได้ร่วมกันนำเสนอกระบวนการของตนเอง ซึ่งสรุปได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ศึกษาความสัมพันธ์ผ่าน การเพาะเชื้อจุลินทรีย์ใน แหนม กลุ่มที่ 2 ศึกษาความสัมพันธ์ผ่าน การเพาะเชื้อจุลินทรีย์ใน โยเกริ์ตสด
    กลุ่มที่ 3 ศึกษาความสัมพันธ์ผ่าน การเพาะเชื้อราโดยใช้เชื้อเห็ดฝาง กลุ่มที่ 4 ศึกษาความสัมพันธ์ผ่าน การเพาะจุลินทรีย์ในน้ำเปรี้ยว จากนั้นแต่ละกลุ่มก็เข้าสู่กระบวนการทดลองโดยเตรียมอุปกรณ์ต่างๆตามที่ได้สืบค้นข้อมูล พร้อมเฝ้าสังเกตผลที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการ กระทั้งวันศุกร์ แต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลการทดลอง และเหตุผลประกอบการทดลองในปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เช่นรสชาติที่เกิดขึ้นของแหนม นมเปรี้ยว และโยเกริ์ต การเจริญเติบโตในรูปแบบเส้นใยของเชื้อเห็ดฝาง ตลอดการนำเสนอ แต่ละคนได้ร่วมกันอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ได้หาข้อมูลมาประกอบ และสัปดาห์นี้ คุณครูจึงปิดท้ายโดยการให้พี่ร่วมแชร์ ความคิดเห็นในชุดคำถาม ต่อไปนี้ กระบวนการเรียนรู้เป็นอย่างไร ได้เรียนเรียนรู้อะไรบ้าง เกิดปัญหาอะไร และมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร และจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปปรับใช้ได้อย่างไร ?

    ตอบลบ