เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)
1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทาง ชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้และผู้อื่น

Main





Web  เชื่อมโยงกลุ่มสาระวิชา

Mind Mapping หน่วยที่ 1 "1000 ล้านชีวิตในตัวเรา"


หน่วยที่ 1 : 1000  ล้านชีวิตในตัวเรา
คำถามหลัก(Big  Question)  : สิ่งมีชีวิตมีกระบวนการในการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร ?
ภูมิหลังของปัญหา:
         สิ่งมีชีวิตในโลกมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน ทั้งด้าน ลักษณะทางพันธุกรรม แหล่งที่อยู่อาศัย รูปแบบการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ โดยมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจะมีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม หรืออีกนัยในคือการเป็นเป็นปัจจัยสี่ซึ่งกันและกัน  สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตเกือบจะทุกชนิดสามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้กับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่นับวันจะเสื่อมโทรมลงนั้น คือกระบวนการทำงานที่พิเศษของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจำพวกจุลินทรีย์ อาทิเช่น จุลินทรีย์ ช่วยย่อยสลายอินทรีวัตถุเพื่อให้มีธาตุอาหาร (ปุ๋ยหมัก) สามารถใช้ฆ่าหรือยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรียกว่า ยาปฏิชีวนะ
สามารถสามารถเปลี่ยน นํ้าตาลให้เป็นแอลกอฮอล์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้  (เชื้อหมัก) และช่วยย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งพวกสารอนินทรีย์ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ในดิน เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและรักษาสมดุลในธรรมชาติ
           
ดังนั้นจากประเด็นดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่นักเรียนระดับชั้น ม.2 และคุณครูจะได้ร่วมกันออกแบบกระบวนเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในประเด็นความสมดุลของธรรมชาติระหว่างจุลินทรีย์กับสิ่งมีชีวิตอื่น

เป้ามายความเข้าใจUnderstanding Goals:
          1. เพื่อศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างสมดุล
               2. เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์ของความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตกับมนุษย์ รวมทั้งรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม เพื่อทำให้ความหลากหลายทาง ชีวภาพคงอยู่ต่อไปได้และผู้อื่น

ระยะเวลา(Duration) : 5  สัปดาห์ ( 8 ชั่วโมง/ สัปดาห์ )
ครูผู้สอน:   นางสาวลักคณา   แสนพงค์ 


Mind Mapping  หน่วยที่ 2 : Food

หน่วยที่ 2 : FOOD
คำถามหลัก(Big  Question)  : อาหารมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างไร?
ภูมิหลังของปัญหา:
          ทุกคนทราบดีว่าอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิต แต่เนื่องจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ความต้องการในการบริโภคอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีพเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ด้วยข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ ทำเล ที่ตั้ง สภาพดินภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ ทำให้ประชากรโลกในหลายประเทศประสบกับปัญหาเดียวกันคือ “ขาดแคลนอาหาร”
         แม้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความเจริญก้าวหน้าไปมาก และนักวิทยาศาสตร์พยายามคิดค้นหาวิธีการต่างๆ เพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ ฯลฯ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น ใช้ความรู้ด้านพันธุวิศวกรรม (GMO) ในการคัดเลือกและผสมพันธุ์พืชและสัตว์เพิ่มผลผลิต ใช้สารเคมีในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและอาจรวมไปถึงกระบวนการจัดเก็บและถนอมอาหารที่แม้จะทราบดีว่าอาจทำให้ผู้บริโภคไม่ปลอดภัย แต่ด้วยแรงจูงใจคือค่าตอบแทนที่ดึงดูดใจทำให้เกษตรกรหลายคนยอมเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต มีการตัดต้นไม้เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำการเกษตร เมื่อทำเกษตรในเนื้อที่จำนวนมากยิ่งขาดแคลนแรงงานจึงทำให้ต้องใช้สารเคมีและเครื่องจักร การทำเกษตรจากที่เคยทำเพียงเพื่อกินในครัวเรือนเปลี่ยนเป็นทำเพื่อขายเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวที่จำเพาะเจาะจงและหวังผลทางเศรษฐกิจ
       ดูเหมือนการปฏิวัติเขียวจะสามารถบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาหารได้เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยินดีและพอใจกับอาหารที่ตนเองได้รับ แต่จะมีสักกี่คนที่จะทราบเบื้องหลังของอาหารที่เราทุกคนรับประทานกันทุกวันว่ามีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด และปัญหายิ่งซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ แม้เทคโนโลยีจะพัฒนามากขึ้นแต่กลับทำให้สุขภาพของคนในสังคมอ่อนแอลง จากงานวิจัยสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกส่วนใหญ่เกิดจากโรคมะเร็ง หัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป
      ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนสามารถเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับบริโภค และรู้เท่าทันในการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนและรับประทานอาหารให้เพียงพอ เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งและผู้เขียนเชื่อว่าการกินสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ 
เป้ามายความเข้าใจUnderstanding Goals:
       นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง ( นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้
ระยะเวลา(Duration) : 5 สัปดาห์ ( 8 ชั่วโมง/ สัปดาห์ )
ครูผู้สอน:   นางสาวลักคณา   แสนพงค์ 

ปฏิทินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (PBL) หน่วยที่ 1 : "1000 ล้านชีวิตในตัวเรา" หน่วยที่ 2 : Food
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
Week
input
Process
Output
Outcome
1


โจทย์ : ออกแบบการเรียนรู้
- วิเคราะห์หลักสูตร 2551 วิชาบูรณาการ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- วางแผนการเรียนรู้
คำถาม
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
- นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
เครื่องมือคิด
- Think pair share เลือกชื่อหน่วย
- Black board share ตั้งชื่อหน่วย
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- Show and Share ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
หนังสือหลักสูตรปี พ.ศ.2551

- วิเคราะห์หลักสูตร
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ Quarter 1
- เขียนMind mapping ความรู้ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- วิเคราะห์หลักสูตร
- ร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- สรุป Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้

ชิ้นงาน :
- ชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Mind Mapping (ก่อนเรียน)
- ปฏิทินการเรียนรู้ Quarter 1
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษา 2551 ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย


2- 3


โจทย์ :  ก่อกำเนินมนุษย์
- ธาตุและองค์ประกอบ
- ระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์
คำถาม
- สิ่งมีชีวิตก่อกำเนินและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเกิดขึ้นเองภายหลังการเป็นโรคต่างๆจริงหรือ
เครื่องมือคิด
BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกายจากการทดลอง
- วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมีเป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ  องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์
- DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการทดลอง
- ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สื่อและอุปกรณ์การทดลอง ระบบการย่อยอาหารในร่างกาย
- ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลองระบบการย่อยอาหารในร่างกาย
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถาม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ  องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
- นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมทดลองระบบการย่อยของอาหารในร่างกาย
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการทดลอง
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับธาตุ  องค์ประกอบของธาตุ และระบบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายมนุษย์)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจกระบวนการทำงานเชิงประสบการณ์ของระบบต่างๆของร่างกายพร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย

4 - 5


โจทย์ :  ร่างกายมนุษย์กับสมดุลทางธรรมชาติ
- การทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
คำถาม
- จุลินทรีย์ในอาหารและเครื่องดื่มช่วยปรับสมดุลการทำงานของร่างกายได้จริงหรือ
- การทานอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคภัยจริงหรือ
เครื่องมือคิด
- BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบการทำงานระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
 - วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมีเป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
- DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการทดลอง
- ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สื่อและอุปกรณ์การทำ โยเกิร์ตสด

ร่วมพูดคุยประเด็นจากคำถามต่างๆ  ดังนี้
    **ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากจุลินทรีย์และแบคทีเรียในช่องปากหลังการดื่มน้ำทันทีในช่วงตื่นนอนในตอนเช้า จริงหรือ?
  ** เรารู้จัก  “จุลินทรีย์ หรือแบคทีเรียที่มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับร่างกายของเราจากสิ่งใด?
     **เราจะรู้ได้อย่างไรว่า จุรินทรีย์และแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายนั้น จะต้องมีปริมาณเท่าใด  อะไรจะเป็นมาตรวัดได้ ?
- ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรมผลิต โยเกิร์ตสด
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถาม
- นักเรียนแต่ละคนออดแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์)
- นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมทำกิจกรรมผลิต โยเกิร์ตสด”- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานและสร้างสมดุลของจุลินทรีย์กับสิ่งมีชีวิต

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย

6-7


โจทย์ :  ผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
- อาหารจากกรดแลคติก
- อาหารจากกรดอาซิติค
- อาหารจากยีสต์
- อาหารจากเชื้อรา
- อาหารจากการทำงานร่วมกันของจุลินทรีย์หลายตัว
คำถาม
- จุลินทรีย์สร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารต่างๆได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- BAR ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถาม จาก เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ
- ชิมและวิเคราะห์ลักษณะทางเคมีและกายภาพของอาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำสมสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว)
 - วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมี(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต)
- DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
 - ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ
- อาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำสมสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว)
- ครูและนักเรียนร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถาม จาก เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถาม
- นักเรียนแต่ละคนชิมและวิเคราะห์ลักษณะทางเคมีและกายภาพของอาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำสมสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว)
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต)
- นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถาม จาก เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ
- ชิมและวิเคราะห์ลักษณะทางเคมีและกายภาพของอาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย   อาหารจากกรดแลคติก
อาหารจากกรดอาซิติค  อาหารจากยีสต์
อาหารจากเชื้อรา  และอาหารจากการทำงานร่วมกันของจุลินทรีย์หลายตัว

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย

8


โจทย์ :  สัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
คำถาม
- การรับประทานอาหารเสริม จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง  จริงหรือ
- การทานอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคภัยจริงหรือ
เครื่องมือคิด
- BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน
 - วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมี(เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการทดลองและการวิเคราะห์อินโฟรกราฟิก กินเท่าไรจึงจะพอดี
- ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สื่อและอุปกรณ์การทำการทดลองปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน
- “อินโฟรกราฟิก กินเท่าไรจึงจะพอดี


- ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลองปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน
- ร่วมวิเคราะห์และตั้งข้อสังเกต อินโฟรกราฟิก กินเท่าไรจึงจะพอดี
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถาม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย)
- นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมทำการทดลองปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายใน 1 วัน
- ร่วมวิเคราะห์และตั้งข้อสังเกต อินโฟรกราฟิก กินเท่าไรจึงจะพอดี
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการกิจกรรม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ ((เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย)
- ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- สรุปผลการทดลอง
- คำถามและประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับจุลินทรีย์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เกี่ยวกับสัดส่วนของอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย

9


โจทย์ :  Review กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
คำถาม
- การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
- จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด

เครื่องมือคิด
AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
       **  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
     ** จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ประเด็น AAR
**  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
     **จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด


- ครูและนักเรียนร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
       **  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
     **จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้ ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AAR และนำเสนอความเข้าใจ จาก 2 ประเด็น
       **  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
     **จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน :
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ชิ้นงานนำเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นในวง AAR
ความรู้
เข้าใจและสามารถนำเสนอความคิดเห็นมุมมองด้านข้อดีและข้อด้อยของกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาเพื่อนำไปพัฒนาต่อได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย

10


โจทย์ : สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
คำถาม

- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
- นักเรียนจะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด
-
 Blackboard Share ความคิดเห็นสิ่งที่ทำได้ดีแล้ว กับสิ่งที่ควรปรับปรุงเกี่ยวกับหนังเครื่องร่อน
- ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน
 Quarter นี้ผ่านเครื่องมือ คิด Round Rubin
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียนผ่านเครื่องมือMaid Mapping
- Show share สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/ นักเรียน

สื่อ / อุปกรณ์
- กระดาษ A3
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter 1
- นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้หลังเรียนในรูปแบบ Mind Mapping
-  ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้ /ประเมินตนเอง
- จัดนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- แลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนรู้ตลอด Quarter 1
- จัดนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้หลังเรียนในรูปแบบ Mind Mapping

ชิ้นงาน :
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- นิทรรศการเครื่องร่อน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
 เข้าใจและสามารถสรุปแก่นแท้ของการกระบวนการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต

ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย


ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์สาระการเรียนรู้กับมาตรฐานและตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ

หน่วย :  “1000 ล้านชีวิตในตัวเรา l FOOD

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

กิจกรรม
Active learning
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
22101
22101
22102
22101
22101
22101
22101
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- หน่วยย่อยของสิ่งมีชีวิต
- อาหารจากยีสต์ เชื้อรา และจุลินทรีย์
- เพาะเชื้อรา จุลินทรีย์และแบคทีเรีย
- ผลิตขนมปังและเตาอบ
- ไวน์ผลไม้
มาตรฐาน ว 1.1
อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจระบบประสาทที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการกินได้  (ว1.1 ม.2/1)
อธิบายความสัมพันธ์ของระบบต่างๆของร่างกาย รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งมีชีวิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกและภายในได้
(ว1.1 ม.2/2-3)
อธิบายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันทางการเกษตร รวมทั้งนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
(ว1.1 ม.2/4)
สามารถทดลองวิเคราะห์และอธิบายสารอาหารในอาหาร มีปริมาณพลังงาน และสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัยได้ (ว1.1 ม.2/5)
อธิบายเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และนำความรู้ไปใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพได้                 
(1.1 ม.4-6/4)
มาตรฐาน ว1.2
สำรวจและอธิบายเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นของตนเองที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล
 (1.2 ม.3/4)
มาตรฐาน ว2.1
สำรวจระบบนิเวศต่างๆในโรงเรียน ท้องถิ่น และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของระบบนิเวศกับสิ่งมีชีวิตได้
(ว 2.1 ม.3/1)
มาตรฐาน ว 2.2
วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตนเองพร้อมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ไขได้
(ว 2.2 ม.3/1)
มาตรฐาน ว 6.1
สำรวจ วิเคราะห์และอธิบายการใช้ประโยชน์ การปรับปรุงคุณภาพของดินเพื่อใช้ในการเกษตร ปลูกผักปลอดสารพิษและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ (ว 6.1 ม.2/2)
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่าง ครอบคลุ่มและเชื่อถือได้
- สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี
- เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม
- รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
- วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ
- สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ  ที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ
- สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
- บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ  เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม
- จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ว 8.1 2/1-9) 
มาตรฐาน ส1.1
- เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตได้ (ส1.1 ม.2/9)
- เห็นคุณค่าและวิเคราะห์การปฏิบัติตัวในการพัฒนาตนเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
(ส1.1 ม.3/7)
มาตรฐาน ส1.2
 มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี (ส1.2 .2/2)
มาตรฐาน ส2.2
สามารถวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ได้
(ส2.2 ม.2/2)

มาตรฐาน ส 4.1
- วิเคราะห์ความแตกต่างของแต่ละชุมชน ที่สอดคล้องกับความจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ 
( 4.1  .2/2)
- ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่ตนเองสนใจ( 4.1  .3/2)
มาตรฐาน ส 4.2
เปรียบเทียบความ  เหมือนและความต่างทางวัฒนธรรมของชุมชนตนเองกับชุมชนอื่นๆ ( 4.2  .2/1) 

มาตรฐาน ง 1.1
เข้าใจและสามารถใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน ( 1.1 .2 /1)
เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน 
( 1.1 .2 /2 )
มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า ( 1.1 .2 /3 )
สามารถทำงานและอธิบายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
( 1.1 .3 /1)
- อธิบายวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต 
(ง 1.1 .4-6 /1 )
- สามารถสร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะในการทำงานร่วมกัน
 (ง 1.1 .4-6 /2 )
- มีทักษะในการจัดการทำงาน 
(ง 1.1 .4-6 /3)
มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
 (ง 1.1 .4-6 /4)
มีทักษะในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศเพื่อการดำรงชีวิต(ง 1.1 .4 /5 )
มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน 
(ง 1.1 .4-6 /6 )
มาตรฐาน   ง 2.1
มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการตัดต่อคลิปการทำเกษตร 
(ง 2.1 .2 /3)
เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมและเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
 (ง 2.1 .2 /4)
มาตรฐาน   ง 3.1
ใช้ซอฟแวร์ในการทำงาน เช่น Picasa 3, Sony vegas Pro 11 ได้  (ง 3.1 .2 /4)
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบวีดีโอได้  
(ง 3.1 .3 /3)
ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานได้จากจินตนาการอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ 
(ง 3.1 .3 /4)
ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต
( 3.1 .4-6/9)
อธิบายข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  
(3.1 .4-6/13)

มาตรฐาน  พ 1.1
ระบุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ สังคมและสติปัญญาในวัยรุ่นได้
(พ 1.1 .2/2)
มาตรฐาน   2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( 2.1 .3/1 )
มาตรฐาน   3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน   
(3.1 .3/2)
มาตรฐาน   3.2
เลือกเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเล่นกีฬาตามความถนัดพร้อมทั้งวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง  
( 3.2 ม.2/2)
มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกา และข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือกได้ ( 3.2 ม.3/3)
นำผลในการปฏิบัติในการเล่นกีฬามาสรุปเป็นวิธีที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเองด้วยความมุ่งมั่นได้( 3.2 ม.3/5)



มาตรฐาน ศ1.1
วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้และสนใจ เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ 
( 1.1 .2/3)

จุดเน้นที่ 1.1
รู้คุณค่าและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ส1.1 ม.2/2)
จุดเน้น 3.1
มีส่วนร่มในการสร้าง ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน
(ส 3.1 ม.2/6)
จุดเน้น 3.2
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียน
(ส 3.2 ม.2/7)
จุดเน้น 4.2
วิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคของตนเองและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี(น 4.2 ม.2/9)
จุดเน้นที่ 5
เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
(ส 5 ม.2/10)